วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

การบวงสรวงบูชาเทพ, การนับลูกประคำ,การอารตี, สัญลักษณ์ "โอม", การปฎิบัติในการไปเทวาลัย, ความหมายสีผิวพระพิฆเนศ, พิธีกรรม, วันสำคัญขององค์เทพฮินดู




         ในการบูชาเทพนั้น ต้องมีจิตใจที่ตั้งมั่น เชื่อในเทวานุภาพที่มีอยู่จริง ซึ่งในทางวิทยศาสตร์อาจจะเรียกว่า "พลังจักรวาล" การที่คนเรากระทำการบวงสรวงต่อสิ่งศักสิทธ์นั้นก็เพื่อที่จะขอความสะดวกในกิจการต่างๆไม่ให้เกิดอุปสรรคและความขัดข้องและชะตาชีวิตที่ดีขึ้น
       ซึ่งบางท่านอาจสามารถสัมผัสหรือสามารถสื่อกับสิ่งศักสิทธ์ได้ ก็เพื่อที่จะชี้แนะทางสะดวกต่างๆ หากการกระทำของท่านบังเอิญขัดกับความเห็นของเหล่าเทพเทวดาสิ่งศักสิทธิ์ ก็อาจจะเกิดอุปสรรคในการทำกิจการต่างๆ  เราจึงต้องมีการบวงสรวง ร้องขอความสะดวก กระทำการใดๆ ให้ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความสำเร็จในกิจการทั้งปวง
          เทพแต่ละพระองค์ไม่ว่าจะเป็นสายไหนก็ตาม ล้วนแต่ต้องเริ่มที่การสวดมนต์ภาวนาด้วยกันทั้งสิ้น การสวดมนต์จึงเท่ากับเป็นการปูพื้นฐานในการปฎิบัติสมาธิ เพื่อที่จะเข้าถึงสิ่งศักสิทธิ์องค์เทพเทวา   การสวดมนต์ให้ได้ผลในการบูชาเทพสายฮินดูนั้นต้องเริ่มต้นที่พระคเณศก่อน เพราะตามประเพณีโบราณนั้น พระคเณศคือเทพพระองค์แรกที่ต้องได้รับการบูชาก่อน  จากนั้นถึงจะตามด้วยการบูชากราบไหว้มหาเทพและมหาเทวีจนถึงเทพพระองค์อื่น  ซึ่งหากผิดพลาดจากธรรมเนียมการปฎิบัตินี้แล้ว  ถือว่าการบูชาย่อมไม่ได้ผล  ว่าไปแล้ว พระคเณศคือสุดยอดแห่งมหามงคลในการขจัดอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง  พูดง่ายๆ ก็คือ ทรงเป็นมหาเทพเพื่อช่วยในการเคลียร์พื้นที่ให้ก่อนนั้นเอง เพื่อที่จะให้พิธีกรรมต่างๆ ลุล่วงไปด้วยดี


การภาวนาด้วยลูกประคำ
          มนต์ เปรียบได้กับพลังแห่งมหาเทพ  และมหาเทวี ที่ทรงประทานอานุภาพของพระองค์ในรูปของอักขระและเสียงที่มีอำนาจ  ดังนั้นการเปล่งเสียงสูงต่ำถือเป็นกระแสแห่งพลังของการสวดมนต์ภาวนา   การสวดมนต์นั้นจะช่วยในการกล่อมเกลาจิตใจ  เพื่อให้เกิดสมาธิ  ไม่ฟุ้งซ่านไปกับกิเลศ  ตัณหา  ราคะ และความอยากต่างๆ  จนสามารถก่อให้เกิดอำนาจและกระแสพลังอันมหาศาล  พลังเหล่านี้นอกจากทำจิตให้สงบ มีสมธิแล้ว  ยังสามารถแปรรูปมาใช้กับหน้าที่การงานในชีวิตประจำวันได้อีก  ฉะนั้นการสวดมนต์ด้วยจิตใจที่สงบเท่านั้น  ย่อมนำมาซึ่งอานิสงส์อันยิ่งใหญ่  
          การกำหนดจิตผ่านลูกประคำถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่ง  ที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย

          1. ลูกประคำที่ร้อยเป็นพวงขายนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะร้อยเรียงด้วยลูกไม้ต่างชนิดกันไป  แต่นับรวมได้ 108 เม็ด ในสายของฮินดูแล้ว นิยมใช้ประคำที่ร้อยจากเมล็ด "รุทรากษะ" ซึ่งคนไทยแปลว่า "เมล็ดน้ำตราพระศิวะ" เมล็ดดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นเมล็ดสีแดง มีหลายขนาดให้เลือก  เมล็ดเล็กจะแพงกว่าเมล็ดใหญ่  นอกจากนี้ัความแพงยังดูกันที่แฉกและเหลี่ยมที่ได้มาตรฐานอีกด้วย  เพราะเมล็ดที่สมบูรณ์นั้นจะมี 8 แฉก พวงประคำ ที่สมบูรณ์เช่นนี้หายากมาก มีราคาแพง  ซึ่งราคาตกประมาณเส้นละหมื่นบาทขึ้นไป  นอกจากเมล็ดดังกล่าวแล้วในสายของพระวิษณุเทพนิยมใช้เมล็ดที่ได้จากต้น "ตุลสี"(กระเพรา)
          "รุทรากษะ" มีความสำคัญอย่างไร ว่ากันว่า เมล็ดผลไม้ชนิดนี้นั้นนำมาซึ่งความศักสิทธิ์  และสามารถขับไล่บาปทั้งหลายให้หมดไป เพียงแค่ได้สวดด้วยการนับประคำนี้  พระศิวะเทพทรงตรัสกับพระนางปราวตี  ถึงที่มาของเมล็ดรุทรากษะ ว่า "โอ๋....พระนางมเหศวรี(อีกพระนามหนึ่งของ พระนางอุมา)  จงรับฟังถึงความยิ่งใหญ่แห่งเมล็ดรุทรากษะ)  เพื่อประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติที่ได้กราบไหว้บูชาเรา  คราวหนึ่งเราได้ประกอบสมาธิกรรมฐานเป็นเวลาเนิ่นนานอยู่หลายพันปีแห่งสวรรค์  ถึงแม้จะวบคุมสำรวมในการประกอบสมาธิ  แต่กระนั้นจิตใจของข้าอยู่ไม่คงที่  คงล่องลอยไปยังที่อันไกลโพ้น จนข้าสะดุ้งตื่นตกใจจากการสำรวม และลืมตาขึ้นจากความต้องการช่วยเหลือจักรวาล  หยดน้ำตาของข้าก็ล่วงหล่นสู่พื้นดิน  ทั้งที่ขณะนั้นดวงตาของข้าได้ลืมเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น จากหยดน้ำตาจองข้านี้ได้ก่อให้เกิดต้นรุทรากษะขึ้น  ต้นไม้นี้ได้ออกลูกมาเป็นจำนวนมาก  เหล่าพันธุ์ไม้นี้ได้เจริญขึ้นในดินแดน  เคาฑะ  มธุรา  ลังกา  อโยธยา  มลัย  สหยะ  และ แคว้นกาลี  อันแคว้นใดที่มีพันธุ์ไม้นี้เจริญงอกงามย่อมสามารถทำลายบาปให้หมดสิ้นไป
          อันสีสันของเมล็ดรุทรากษะ มี 4 สี คือ ขาว  แดง  เหลือง  ดำ  ซึ่งจำแนกตามวรรณะตามกฎแห่งพระเวทที่วางไว้  สีขาว-สำหรับวรรณะพราหมณ์    สีแดง-สำหรับวรรณะกษัตริย์    สีเหลือง-สำหรับวรรณไวศยะ    สีดำ-สำหรับวรรณะศูทร    เมล็ดรุทรากษะขนาดวิเศษที่สุด  ย่อมเทียบเคียงเท่าลูกสมอ หรือแม้จะมีขนาดเท่าเมล็ดพุทราก็ได้รับประโยชน์และความผาสุกอันยิ่งใหญ่   พวงมาลัยอื่นอันจะนำความเป็รมงคลและได้รับความสำเร้จสมดั่งที่ปราถนาเทียบเท่าสร้อยที่ทำด้วยเมล็ดรุทรากษะเป็นไม่มี
          ผู้สวมใส่แม้เพียงเมล็ดรุทรากษะเพียงเมล็ดเดียวไว้บนศรีษะหรือตามร่างกายของเขาแล้ว จะไม่ตกสู่นรกแห่งยมราชเลยเพราะผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นบริวารแห่งคณะศิวะเทพ  คนผู้นั้นจะมีวิญญาณอันบริสุทธิ์  เป็นที่โปรดปรานแห่งเทพทั้ง 5 พระองค์ อันประกอบด้วย พระสุริยเทพ, พระคเณศ, พระแม่ทุรคา, พระรุทรเทพ, พระวิษณุเทพ  และเป็นที่รักใคร่ของเทพเจ้าทั้งหมด"   นี้เป็นที่มาและความศักดิ์สิทธิ์ของเมล็ดรุทรากษะที่กล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวท    

          2. วิธีการนับลูกประคำ จะใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางซ้ายขวาเท่านั้น ห้ามใช้นิ้วชี้เป็นอันขาด การนับจะนับครบ 108 ลูก แล้วนับย้อนกลับในเม็ดที่ 108 โดยถือว่าเป็นลูกที่ 1 ใหม่  ทั้งนี้จะไม่นิยมนับข้าม เมรุ (เม็ดยอดสามชั้นที่มีสายร้อยประคำลอดออกมา)  การนับจะนิยมนับบริเวณใกล้กับหัวใจหรือใกล้จมูก  เพราะเป็นจุดศูนย์รวมของการกหนดสมาธิและห้ามอย่างเด็ดขาดในการถือลูกประคำต่ำกว่าสะดือของตน     

          3. ลูกประคำควรเก็บรักษาไว้ให้ดี หมั่นทำความสะอาด และห่อผ้าเก็บไว้ในที่อันควร

          4. ข้อปฎิบัติในการนั้งสวดมนต์นั้น จะต้องอาบน้ำ  ล้างมือ  ล้างเท้า  ล้างปากให้สะอาดก่อนทุกครั้ง  หากไม่สะดวกในการอาบน้ำ  อาจจะแค่ล้างมือและบ้วนปากให้สะอาดก็ได้  การสวดมนต์ภาวนานั้น  ต้องกำหนดจิตพุ่งตรงไปที่คาถา หรือมนต์ในบทนั้นๆ การเปล่งเสียงสวดก็ไม่ควรช้า หรือ เร็วจนเกินไป

          5. การสวดมนต์ นิยมสวดที่แท่นบูชาเทวรูป  หรือถ้าจำต้องสวดในสถานที่ซึ่งไม่มีเทวรูป  ให้หันหน้าไปทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออกแทนก็ได้

          6. หลังการสวดมนต์อย่างแน่วแน่แล้ว  จึงค่อยตั้งจิตอธิษฐานขอพร ด้วยจิตที่เชื่อมั่นในเทวานุภาพ

          7. สำหรับผู้ที่มีครูบาอาจารย์ (ครูเทพ หรือ ครูมนุษย์) ซึ่งอาจจะมีมนต์พิเศษสำหรับตน  จงอย่าเปิดเผยมนต์นี้ให้คนอื่นทราบเด็ดขาด  เพราะนั้นคือรหัสพิเศษซึ่งมีความศักสิทธิ์เฉพาะตนเท่านั้น  การบอกความลับนี้จะทำให้มนต์เสื่อมความขลังในทันที

          การอารตี หรือ พิธีบูชาไฟ  ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการบูชา  ชาวฮินดูถือว่า  พิธีกรรมทั้งหลายจะไม่สมบูรณ์หากขาดการบูชาไฟหลังผ่านพิธีดังกล่าว  จะวางตะเกียงอารตีไว้หน้าแท่นบูชา  แล้วผู้ร่วมพิธีใช้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง คว่ำลงบนเปลวไฟในระยะที่ห่างพอสมควร  แล้วนำฝ่ามือนั้นมาแตะที่หน้าผาก ดวงตา และใบหู  เพื่อเปิดทวารในการรับรู้ซึ่งสัมผัสพิเศษขับไล่สิ่งอัปมงคลทั้งหลายให้หมดไป
          หลังพิธีเสร็จสิ้น  ควรตั้งจิตบริสุทธิ์อธิษฐานเพื่อแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์ในโลกว่า "โอม   ศานติ  ศานติ  ศานติ"  เป็นอันว่าพิธีนั้นได้ผ่านไปโดยสมบูรณ์ทุกประการแล้ว



โอม   คำศักดิ์สิทธิ์แห่งจักรวาล

           หัวใจของศาสนาฮินดูนั้น  มีคำที่ถูกยกย่องให้เป็นคำศักดิ์สิทธิ์อยู่พยางค์หนึ่ง  คือ  "โอม"
           ศิวะเทพ  ทรงตรัสบอกถึงบทสวดมนต์ที่เรียกว่า "โอมการ" นี้ให้กับ พระวิษณุเทพ และ พระพรหม เพื่อนำไปท่องสวดอันมนต์นี้ระบุถึงมหาเทพเพียงพระองค์เดียว  ซึ่งเป็นเครื่องชี้ทางและแสดงความระลึกถึงพระองค์
          คำว่า "โอม" สามารถแบ่งไว้เป็นคำๆโดยออกจากพระโอษฐ์ของพระมหาเทพคือ

         1. ตัว อ
             - ออกจากพระพักตร์ที่อยู่ทางทิศเหนือ
         2. ตัว โ
             - ออกจากพระพักตร์ที่อยู่ทางทิศเหนือ
         3. ตัว ม
             - ออกจากพระพักตร์ที่อยู่ทางทิศใต้
         4. ตัว . (พินทุ)
             - ออกจากพระพักตร์ที่อยู่ทางทิศตะวันออก
         5. เสียง นาท (เสียงที่ไม่สามารถเข้าใจได้ลึกซึ้ง)
             - ออกจากกลางพระพักตร์ของมหาเทพ

          คำว่า "โอม" เกิดจากคำ 5 ตัว ที่ออกมาจากพระพักตร์ทั้ง 5 ของมหาเทพคำว่า "โอม" ระบุถึงพระมหาเทพ  และพระแม่ศักติ-ศิวา เสมอด้วยคำนี้ทำให้เกิดมนต์ 5 พยางค์ คือ "โอม  นมัช  ศิวาย" และมนต์ต่างๆ ที่กราบไหว้บูชาต่อเทพเจ้าและบรรพบุรุษในกาลต่อมา  และมนต์ทั้ง 5 พยางค์นี้ ยังเป็นกำเนิดของพระแม่แห่งการสร้างจักรวาล 5 พระองค์ คือ พระแม่ศิโรมนตร์, พระแม่ลักษมี, พระแม่สรัสวตี, พระแม่อุมา, พระแม่คายตรี
          ในยุคที่ชนชาวภารตะยังนับถือพระเป็นเจ้าในฐานะที่เป็น "ตรีมูรติ" ด้วยนับถือ พระพรหม, พระวิษณุ และพระศิวะ เสมอกันนั้น มีคำศักสิทธิ์แต่ละพระองค์โดยกำหนดอักขระขึ้น 3 ตัว คือ อะ-อุ-มะ
          อะ       อักษรตัวนี้คือ           พระวิษณุเทพ
          อุ         อักษรตัวนี้คือ           พระศิวะ
          มะ       อักษรตัวนี้คือ           พระพรหม



ข้อปฎิบัติในการไปเทวาลัย
      1. หากมีความประสงค์  หรือ จำเป็นต้องไปกราบไหว้บูชาเทพยังเทวาลัย ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง ควรแต่งกายสุภาพ

      2. ตามธรรมเนียมการปฎิบัติของชาวฮินดูนั้น ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่เทวาลัย มักจะใช้ฝ่ามือแตะที่พื้นบันไดหรือธรณีประตูแล้วนำมาสัมผัสที่หน้าผาก  เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อ พระแม่ธรณี การปฎิบัติเช่นนี้จะต้องทำตอนกลับอีกครั้งหนึ่ง

      3. ต้องสำรวมกาย วาจา ใจ เพื่อให้จิตมีความสงบ เพื่อที่จะรับพลังความศักสิทธิ์ของเทพได้อย่างเต็มที่และไม่ควรที่จะแสดงพฤติกรรมบางชนิดที่ไม่เหมาะสม เพราะเทวาลัยเป็นสถานที่ศักสิทธิ์สำหรับการมาเคารพบูชา มิใช่ทำตนเป็นร่างทรงเพราะนอกจากจะเป็นการแสดงที่ไม่เคารพในสถานที่แล้ว  ยังงอาจก่อความรำคาญให้แก่ผู้พบเห็นที่มาบูชา ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์เป็นที่ตั้ง  หรือสร้างความลำบากใจให้แก่พราหมณ์และเจ้าหน้าที่ของเทวาลัย  ซึ่งต้องปฎิบัติตามกฎของเทวาลัยนั้นอย่างเคร่งครัด  มิฉะนั้นคุณอาจจะถุกเชิญออกไปนอกเทวาลัยโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก็ได้

      4. ขณะที่มีพิธีกรรมนั้น ไม่ควรจะลุกขึ้นไปทำกิจกรรมอื่น เพราะการทำเช่นนั้น ชาวฮินดูโบราณถือกันว่า การเข้าร่วมพิธีกรรมนั้นไม่สมบูรณ์ หรือแม้แต่การบูชาเทพในเคหสถานนั้น ก็ถือปฎิบัติเช่นเดียวกัน เพราะนั้นหมายถึงผลบุญของคุณจะได้เต็มบริบูรณ์ หรือไม่ส่วนหนึ่งจะถูกพิจารณาจากผลในเรื่องนี้

      5. เมื่อผ่านพิธีกรรมของการถวายของบูชาแล้ว ของเหล่านั้นเราเรียกว่า "ปัจฉา" ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ ขนม นมเนย ล้วนจัดเป็นอาหารทิพย์ทั้งสิ้น การรับของเหล่านี้ให้รับด้วยมือขวา และใช้มือซ้ายประคองมือขวาอีกที ก่อนรับประทานอาหารเหล่านี้ให้นำขึ้นจรดที่หน้าผากก่อนทุกครั้ง เพราะถือว่าเป็นการแสดงความเคารพต่ออาหารทิพย์ที่องค์เทพได้ประทานมาให้


ความแตกต่างของสีผิวพระพิฆเนศ, พิธีกรรม, วันสำคัญต่างๆขององค์เทพ

ความแตกต่างของสีผิวพระพิฆเนศ
            - เมื่อใดก็ตามที่มีผู้มีอำนาจยายามจะทำลาย หรือ ทำอันตรายแก่ท่าน หรือ บุคคลอื่น  เราอาจจะหยุดห้ามปราม  หรือขัดขวางได้ด้วยวิชาการแห่งมนต์  พร้อมด้วยการทำสมาธิรำลึกถึงพระพิฆเนศในสีผิวที่แตกต่างกันได้ด้วยการสวดมนต์ว่า  "โอม   ฮริทรา  คณะปัตเย  นะมะหะ" (เป็นจำนวน 108 จบ) จะทำให้มีพลังอำนาจส่งไปยับยั้งผู้ที่จะทำสิ่งอันเลวร้ายนั้นได้

          - เมื่อใดที่ท่านต้องการที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้ใดในทางธุรกิจการงานที่ดีแล้ว  ท่านควรทำสมาธิถึงผิวสีแดงแห่งพระพิฆเนศ  โดยกล่าวสวดว่า "โอม   วิชัย  คณะปัตเย  นะมะหะ"  จะทำให้ส่งพลังยังผู้ที่รับการขอร้องเกิดความสงสารช่วยเหลือ  (แต่จงจำไว้ว่าอย่าใช้มนต์นี้ในทางที่ผิด  มันจะกลับเข้าทำร้ายตนเองได้)

          - ส่วนผิวสีคล้ำแห่งพระพฺิฆเนศ  จะต้องรำลึกสมาธิในเมื่อท่านต้องการทำลายความเห็นแก่ตัว ทำลายความเกลียดชังและทำลายความอวดหยิ่งทรนงตน  ทำลายศัตรูทั้งภายในภายนอก ด้วยการสวดมนต์ "โอม   อุจจาฮสตะ  คณะปัต  เย  นะมะหะ"

          - เพื่อเป็นการกำจัดความเลวร้าย หรือ ความชั่วแห่งความนึกคิดให้หมดไปจากชายคาบ้าน หรือ  จากร่างกาย หรือ จากจิตใจคน แล้วจะต้องทำสมาธิรำลึกถึง พระคเณศวรที่มีผิวสีน้ำตาล  โดยสวด "โอม  ศักติ  คณะปัตเย  นะมะหะ"

          - การที่จะให้คนรักเพื่อผลแห่งการงาน การแต่งงาน หรือ นำมาซึ่งความสุขแห่งครอบครัว  ท่านต้องทำสมาธิถึงพระพิฆเนศผิวสีแดง  ด้วยมนต์ "โอม   วรัท  คณะ  ปัตเย  นะมะหะ"

          - บุคคลผู้ต้องการความเจริญรุ่งเรือง และโมกษะ (ความเป็นอิสระ) จะต้องทำสมาธิถึงพระพิฆเนศผิวสีขาว  ด้วยการสวดมนต์ "โอม   ภักติ คณะปัตเย  นะมะหะ"


พิธีกรรมและวันสำคัญสำหรับบูชาพระพิฆเนศ
          วันประจำปีสำหรับการบูชาพระคเณศนั้น ถือเอาว่าควรเป็นวันแรม 4 ค่ำ เดือน 9 และแรม 4 ค่ำเดือน 10 ส่วนแต่ละเดือนก็บูชาวันขึ้น หรือ แรม 4 ค่ำ เดือนละ 2 ครั้ง ของถวายสำหรับพระพิฆเนศมีหลายอย่าง แต่หญ้าแพรกเป็นสิ่งท่สำคัญที่สุด และควรจะเป็นขนมโมทกะ หรือขนมหวานอย่างอื่นด้วย นอกจากนี้ก็ควรมีผลไม้ต่างๆ และน้ำนมสด


มนต์  และ  ความศักดิ์สิทธิ์แห่งพระพิฆเนศ
          มนต์แห่งพระพิฆเนศ เป็นมนต์ที่ให้สิทธ (พลัง อำนาจยิ่งใหญ่) มนต์แต่ละบทประกอบไปด้วยอำนาจพิเศษของพระพิฆเนศเมื่อใดก็ตามที่ได้ท่องสวดพร้อมกับการปรันยัน (การอาบน้ำชำระร่างกาย) ที่เหมาะสมและในระหว่างประกอบพิธีบูชา จะนำมาซึ่งผลบุญที่ดี ในทั่วๆไป แล้งมนต์แห่งพระพิฆเนศจะขจัดความชั่วร้ายทั้งหมดและให้ซึ่งผลบุญต่อผู้บูชา ให้ร่ำรวยประสบผลสำเร็จในธุรกิจการงาน

          สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้คือ ผู้ที่จะสวดมนต์แห่งพระพิฆเนศ จะต้องอาบน้ำชำระร่างกาย หรือล้างมือ ล้างเท้าก่อนที่นั่งและสวดมนต์ทั้งหลายนี้ เช่นเดียวกัน เขาจะต้องทำ "ปรันยัน" (อาบน้ำชำระร่างกาย) สามหน หรือมากกว่าก่อนที่จะสวด การสวดมนต์อย่างน้อยให้ได้หนึ่งรอบของลูกประคำ (108 ครั้ง จะต้องกำหนดชั่วโมงและสถานที่ เพื่อการท่องสวดมนต์จะต้องทำติดต่อกันเป็นประจำ 48 วัน นั้นหมายความว่า ตั้งจิตประกอบสมาธิจะนำมาซึ่งสิทธิและอำนาจอันเร้นลับ ข้อเตือนคือ ผู้บูชาจะต้องมีร่างกายที่แข็งแรงไม่เจ็บไข้ในเวลาท่องสวดมนต์ และจะไม่กระทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง เพราะอำนาจทั้งหลายนี้จะไม่บังเกิดผลหรือใช้ในทางที่ผิด ก็จะให้ผลตรงกันข้าม และเป็นที่สาปแช่งของเทวะ






วันมหาศิวะราตรี
          วันมหาศิวะราตรี เป็นวันจตุทศี (วันแรม) 14 ค่ำ ของเดือนมาฆะ  ทั้งนี้เพื่อให้สำเร็จความปราถนา ผลบุญจากการได้บูชาจะนำมาซึ่งความผาสุขอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง และเป็นอิสระจากบาปทั้งหลาย  ดังนั้นจึงถือได้ว่า วันนี้เท่ากับวันที่พระศิวะเปิดโอกาสให้มนุษย์ได้ไถ่บาปกัน ตามประเพณีนั้น ผู้บูชาต้องตื่นแต่เช้าตรู่ แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสะอาดหลังปฎิบัติกิจวัตรในตอนเช้าเรียบร้อยแล้ว ผู้บูชาต้องเดินทางสู่วัดแห่งพระศิวะเทพ เพื่อประกอบพิธีกราบไหว้บวงสรวงต่อพระศิวะ  ผู้กราบไหว้จะเอาศิวลึงค์มาบูชาในตอนกลางคืน ถวายสิ่งของ เพื่อบูชาต่อพระศิวะ เสร็จแล้วจะอาบน้ำชำระร่างกายสวมเสื้อใหม่ ถือศีลบำเพ็ญพรต กล่าวคำนมัสการด้วยมนต์ 5 พยางค์ คือ "โอม  นมัช ศิวาย"
          ผู้บูชาจำเป็นต้องประกอบพิธีบูชาทั้งกลางวันและกลางคืน ต้องงดความรู้สึกทางเพศไม่กล่าวเท็จ หลองหลวงผู้อื่น บำเพ็ญกรรมฐานทำจิตให้บริสุทธิ์ อันจะยังให้ผู้บูชาได้ผลบุญเพิ่มทวีขึ้น เหมือนน้ำในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้นเมื่อยามพระจันทร์ขึ้นฉันนั้น
          วันศิวะราตรี  ตรงกับวันที่พระศิวะเทพแปลงร่างเป็นเสาไฟใหญ่ ภาพลักษณะนี้เรียกวา "ลึงคสถาน" ลึงค์นี้ไม่มีรากไม่มียอด ครั้งแรกปรากฎเป็นเสาไฟต้นใหญ่มาก  แต่หลังจากที่ชำระความกับพระพรหม  พระวิษณุเทพ  และดอกเกตุแล้วทรงมีพระบัญชาให้ลึงค์นี้ย่อลง ให้เหมาะสมสำหรับการกราบไหว้บูชาในโลก
          คำบูชา  :  "ข้าแต่เทพเจ้าแห่งเทพ  ข้าแต่พระตรีเนตรเทพ  ขอน้อมกราบไหว้ต่อพระองค์  ข้าแต่พระมหาเทวะ  ข้าพเจ้าปราถนาเพื่อประกอบซึ่งพิธีกรรม  ศิวะราตรี  อันเป็นพิธีกรรมบูชาที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อพระองค์  ขอพระองค์นำผลให้พิธีกรรมนี้สำเร็จลงด้วยดี ขอทรงโปรดมอบความอุดมสมบูรณ์ และความผาสุขต่อข้าพเจ้าและบริวาลด้วยเถิด  พระเจ้าข้า"




     การกราบไหว้บูชา (ตามวันทางสุริยคติ)
 พระแม่  ภัควตี อุมาเทวี
          การกราบไหว้บูชาด้วยสิ่งของต่างๆ  ที่ถวายต่อพระแม่อุมา-ศักติ  ยังสามารถแบ่งออกได้ตามวันหนึ่งในสัปดาห์  ซึ่งสิ่งของเหล่านี้จะต้องจัดหาเป็นพิเศษจากเครื่องบูชาที่มีอยู่เดิม  การบูชาด้วยสิ่งของตามวัน มีดังนี้

          ใน วันอาทิตย์                 ผู้บูชาจะต้องถวายต่อพระแม่อุมาด้วย ปายส้ม (ข้าวสุก นม และน้ำตาล)
          ใน วันจันทร์                   ผู้บูชาจะต้องถวายต่อพระแม่อุมาด้วย นมสด
          ใน วันอังคาร                  ผู้บูชาจะต้องถวายต่อพระแม่อุมาด้วย ผลไม้ต่างๆ และ กล้วย
          ใน วันพุทธ                     ผู้บูชาจะต้องถวายต่อพระแม่อุมาด้วย  เนยสด
          ใน วันพฤหัสบดี              ผู้บูชาจะต้องถวายต่อพระแม่อุมาด้วย น้ำตาลทรายอ้อย
          ใน วันศุกร์                      ผู้บูชาจะต้องถวายต่อพระแม่อุมาด้วย น้ำตาลทรายขาว
          ใน วันเสาร์                      ผู้บูชาจะต้องถวายต่อพระแม่อุมาด้วย น้ำมันเนย และ นมเปรี้ยว

          ผู้บูชาที่ได้ปฎิบัติดังนี้เป็นประจำ นับได้ว่าเป็นที่โปรดปรานแห่งพระแม่อุมาศักติอย่างมาก ผลบุญที่จะได้รับนั้นยิ่งใหญ่จะส่งเสริมให้เขาพบแต่ความผาสุขทั้งในชาตินี้ และ ชาติหน้า

ที่มาของเทศกาล "นวราตรี"
           เทศกาลนวราตรี (ดุเซร่าห์) นี้มีความเป็นมาสืบทอดกันมาหลายตำนาน เป็นที่นิยมทั้งในหมู่กษัตริย์ฮินดูแต่โบราณและชาวบ้านทั่วไป ตลอดทั้ง 9 วัน จะมีการบูชามหาเทวีปางอวตารต่างๆ ของพระแม่เจ้าศรีมหาอุมาเทวีถึง 9 ปางคือ
           วันแรก  บูชาปาง "มหากาลี"     วันที่สอง  บูชาปาง "ทุรคา" (เพื่อระลึกถึงการฆ่ามหิงสาสูร)     วันที่สาม  บูชาปาง "จามุนดา" (เพื่อระลึกถึงการฆ่ายักษ์สองพี่น้อง จันทร และ มุนดา)     วันที่สี่  บูชาปาง "กาลี"     วันที่ห้า  บูชาปาง "นันทา" (เพื่อระลึกถึงการอวตารเป็นลูกสาวคนเลี้ยงสัตว์)     วันที่หก  บูชาปาง "รักธาฮันตี"(เพื่อระลึกถึงการฆ่าอสูรด้วยการใช้ฟันกัดจนตาย)     วันที่เจ็ด  บูชาปาง "สักกัมพารี"     วันที่แปด  บูชาปาง "ทุรคา"(เพื่อสรรเสริญเจ้าแม่ที่ฆ่ายักษ์ทุรคา)     วันที่เก้า  บูชาปาง "ลัคภรมารี(เพื่อระลึกถึงการสังหารยักษ์อรุณา) 

1 ความคิดเห็น:

  1. How to make money from slot machines - Worktomakemoney
    How to make money from slot งานออนไลน์ machines · 1. Connect a bet · 2. The dealer places a bet on one side to win. · 3. The dealer's left hand is red

    ตอบลบ